พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระฉลอง 25 พุทธ...
พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500 เนื้อชิน พร้อมกล่องเดิม ๆ
ประวัติ พระฉลอง 25 ศตวรรษ ในปีพุทธศักราช 2500 พระพุทธศาสนา ยุคกาลได้ล่วงพ้นเป็นเวลา “2,500 ปี” รัฐบาลสมัยนั้นนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้จัดงานฉลองทั้งภาครัฐบาลและประชาชนทั่วพระราชอาณาจักรโดยในกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองเป็นงานใหญ่ที่ ท้องสนามหลวง เป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเรียกว่างาน “เฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” ตั้งแต่วันที่ 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ในช่วงเทศกาลวันวิสาขบูชา) ส่วนการเฉลิมฉลองใน ภาคประชาชน จัดให้มีการ สวดมนต์ภาวนา, รักษาศีล, ทำบุญทำทาน ทางด้าน ภาครัฐบาล จัดให้มีการ บูรณะวัดและปูชนียสถานที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาพร้อม การอภัยโทษปลดปล่อยผู้ต้องหา และการ นิรโทษกรรมและล้างมลทิน แก่ผู้กระทำความผิดบางจำพวกและการจัดสถานที่อันเป็นการ อภัยทานแก่สัตว์ เพื่อปลอดจากการถูกทำลายล้างชีวิตโดยได้ทำการเผยแพร่การจัดงานไปยังนานาประเทศ พร้อมเชิญผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และผู้แทนองค์การทางพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ มาร่วมพิธีฉลองด้วย ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดงานที่นำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่สำเร็จเป็นรูปธรรมในครั้งนั้นได้แก่ 1. การจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑล 2. การวางผังพุทธมณฑล 3. การออกแบบองค์พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 4. รัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล 5. การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลอื่น ๆ 6. การจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ระหว่าง 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 เป็นเวลา 7วัน 7 คืน ที่อ้างอิงมาก็เพื่อนำพาผู้อ่านย้อนถึงมูลเหตุของการจัดสร้าง “พุทธมณฑล” จะได้เข้าใจอย่างชัดเจนเพราะการสร้างพุทธมณฑลมีมากมายหลายแง่มุม ซึ่งวันนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงเฉพาะการสร้างพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” อันเป็นวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองและ กดพระพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ส่วนมูลเหตุในการจัดสร้างพระเครื่องฉลอง “25 พุทธศตวรรษ” สืบเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพุทธมณฑลที่คณะกรรมการได้ประมาณการไว้ “25 ล้านบาท” แต่กระทรวงการคลังจัดสรรเงินงบประมาณขั้นต้นไว้ “4,280,000 บาท” เท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอในการก่อสร้าง คณะกรรมการจัดงานจึงลงมติให้มีการจัดสร้าง “พระเครื่องฉลอง 25พุทธศตวรรษ” พร้อม “พระพุทธรูปและวัตถุมงคลอื่น ๆ” เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบในการสร้างพุทธมณฑลและเป็นที่ระลึกในงาน “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” โดยการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้คณะกรรมการได้กราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และทรงกดพิมพ์ “พระพิมพ์เนื้อดิน” เป็นปฐมฤกษ์โดยหนังสือ “พุทธมณฑลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ได้บันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีหล่อพระพุทธรูปและทรงกดพิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์ ดังนี้ “วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2500 เวลา 16 นาฬิกา 30 นาที พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดสุทัศน์เทพวราราม เสด็จขึ้นบนพระวิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระศรีศากยะมุนี แล้วเสด็จฯไปยังพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายศีลจบแล้วเจริญพระพุทธมนต์ ทรงจุดเทียนมหามงคล โหรบูชาฤกษ์ เวลา 17 นาฬิกา 4 นาที 8 วินาทีถึงเวลา 17 นาฬิกา 17 นาที เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำแบบพุทธลีลา 4 องค์” และทรงพิมพ์พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษชนิด “พระเนื้อดินผสมผงเกสร 30 องค์” เป็นปฐม ฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรและดุริยางค์ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 25 รูป เจริญชัยมงคลคาถา พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณหลั่งน้ำสังข์ เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายอดิเรก จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระสงฆ์ 25 รูปเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว “พระคณาจารย์ 108 รูป” นั่งปรกปลุกเสกสรรพสิ่งของบรรจุพุทธาคมต่อตลอดคืน” จากบันทึกดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” มีความเป็นสิริมงคลที่สำคัญยิ่งอีกรุ่นเพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯจาก พระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และกดพิมพ์พระเครื่อง “เนื้อดินผสมผง” (พิมพ์ปางลีลา) เป็นปฐมฤกษ์ อีกทั้งได้ทราบการพิมพ์พระเครื่องและพระพุทธรูปดังกล่าวล้วนจัดสร้างขึ้นที่ วัดสุทัศน์ฯ ดังบันทึกในหนังสือเล่มเดียวกันว่า “คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้สร้างโรงงานให้ผู้รับจ้างพิมพ์พระได้ทำงานอยู่ในบริเวณวัดสุทัศน์ เทพวราราม ด้วยประสงค์จะให้พระพุทธรูปดังกล่าวได้จัดทำอยู่ในปริมณฑลพิธี หรือในเขตพระอารามโดยตลอดและสะดวกต่อการควบคุมดูแล เพราะใช้เวลาสร้างพระเครื่อง 3 เดือนเศษ จึงแล้วเสร็จ และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกเป็นครั้งที่ 2” ดังนั้นวัตถุมงคล “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” จึงนับเป็นวัตถุมงคลมีคุณค่าที่ถึงพร้อมด้วย พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ และ พระมหากษัตราธิคุณ ส่วนรายพระนามและรายนามพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกขออนุญาตไม่เอ่ยถึง เพราะมีจำนวนมากครับ จึงเสนอเฉพาะในแง่มุมที่เกี่ยวเนื่อง “พระมหากษัตราธิคุณ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงถึงพร้อมด้วยทศพิธราชธรรมและทรงเป็น สมเด็จพระบรมธรรมิกราชผู้ยิ่งใหญ่ ทรงมีพระธรรมประจำพระทัยอันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป ผู้เขียนจึงนำเสนอเฉพาะในแง่มุมที่ยังไม่มีผู้ใดให้ความสำคัญหรือสนใจมาก่อนเพื่อให้ท่านผู้อ่าน “ความจริง...อ่านเดลินิวส์” ได้รู้ไว้ “จะได้ไม่เสียเปรียบในการสะสม
ผู้เข้าชม
2096 ครั้ง
ราคา
1000
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
ร้านค้า
-
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
ton040524
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 146-2-43645-3

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
เก่ง บุรีรัมย์tongleehaeธัชกรtermboonponsrithong2ponsrithong
น้ำตาลแดงBAINGERNวุฒิ แสนคูณสุคนธ์ โคราชบี บุรีรัมย์เปียโน
chaithawatvanglannatatingtatingโกหมูบ้านพระสมเด็จบ้านพระหลักร้อย
เนินพระ99นิสสันพระเครื่องหนองคายchaokohเทพจิระเจริญสุขpratharn_p
ตุ๊ก แปดริ้วสายน้ำอุ่นnatthanetErawanAmuletManTotoTato

ผู้เข้าชมขณะนี้ 973 คน

เพิ่มข้อมูล

พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500 เนื้อชิน พร้อมกล่องเดิม ๆ




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500 เนื้อชิน พร้อมกล่องเดิม ๆ
รายละเอียด
ประวัติ พระฉลอง 25 ศตวรรษ ในปีพุทธศักราช 2500 พระพุทธศาสนา ยุคกาลได้ล่วงพ้นเป็นเวลา “2,500 ปี” รัฐบาลสมัยนั้นนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้จัดงานฉลองทั้งภาครัฐบาลและประชาชนทั่วพระราชอาณาจักรโดยในกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองเป็นงานใหญ่ที่ ท้องสนามหลวง เป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเรียกว่างาน “เฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” ตั้งแต่วันที่ 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ในช่วงเทศกาลวันวิสาขบูชา) ส่วนการเฉลิมฉลองใน ภาคประชาชน จัดให้มีการ สวดมนต์ภาวนา, รักษาศีล, ทำบุญทำทาน ทางด้าน ภาครัฐบาล จัดให้มีการ บูรณะวัดและปูชนียสถานที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาพร้อม การอภัยโทษปลดปล่อยผู้ต้องหา และการ นิรโทษกรรมและล้างมลทิน แก่ผู้กระทำความผิดบางจำพวกและการจัดสถานที่อันเป็นการ อภัยทานแก่สัตว์ เพื่อปลอดจากการถูกทำลายล้างชีวิตโดยได้ทำการเผยแพร่การจัดงานไปยังนานาประเทศ พร้อมเชิญผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และผู้แทนองค์การทางพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ มาร่วมพิธีฉลองด้วย ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดงานที่นำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่สำเร็จเป็นรูปธรรมในครั้งนั้นได้แก่ 1. การจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑล 2. การวางผังพุทธมณฑล 3. การออกแบบองค์พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 4. รัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล 5. การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลอื่น ๆ 6. การจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ระหว่าง 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 เป็นเวลา 7วัน 7 คืน ที่อ้างอิงมาก็เพื่อนำพาผู้อ่านย้อนถึงมูลเหตุของการจัดสร้าง “พุทธมณฑล” จะได้เข้าใจอย่างชัดเจนเพราะการสร้างพุทธมณฑลมีมากมายหลายแง่มุม ซึ่งวันนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงเฉพาะการสร้างพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” อันเป็นวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองและ กดพระพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ส่วนมูลเหตุในการจัดสร้างพระเครื่องฉลอง “25 พุทธศตวรรษ” สืบเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพุทธมณฑลที่คณะกรรมการได้ประมาณการไว้ “25 ล้านบาท” แต่กระทรวงการคลังจัดสรรเงินงบประมาณขั้นต้นไว้ “4,280,000 บาท” เท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอในการก่อสร้าง คณะกรรมการจัดงานจึงลงมติให้มีการจัดสร้าง “พระเครื่องฉลอง 25พุทธศตวรรษ” พร้อม “พระพุทธรูปและวัตถุมงคลอื่น ๆ” เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบในการสร้างพุทธมณฑลและเป็นที่ระลึกในงาน “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” โดยการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้คณะกรรมการได้กราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และทรงกดพิมพ์ “พระพิมพ์เนื้อดิน” เป็นปฐมฤกษ์โดยหนังสือ “พุทธมณฑลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ได้บันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีหล่อพระพุทธรูปและทรงกดพิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์ ดังนี้ “วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2500 เวลา 16 นาฬิกา 30 นาที พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดสุทัศน์เทพวราราม เสด็จขึ้นบนพระวิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระศรีศากยะมุนี แล้วเสด็จฯไปยังพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายศีลจบแล้วเจริญพระพุทธมนต์ ทรงจุดเทียนมหามงคล โหรบูชาฤกษ์ เวลา 17 นาฬิกา 4 นาที 8 วินาทีถึงเวลา 17 นาฬิกา 17 นาที เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำแบบพุทธลีลา 4 องค์” และทรงพิมพ์พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษชนิด “พระเนื้อดินผสมผงเกสร 30 องค์” เป็นปฐม ฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรและดุริยางค์ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 25 รูป เจริญชัยมงคลคาถา พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณหลั่งน้ำสังข์ เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายอดิเรก จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระสงฆ์ 25 รูปเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว “พระคณาจารย์ 108 รูป” นั่งปรกปลุกเสกสรรพสิ่งของบรรจุพุทธาคมต่อตลอดคืน” จากบันทึกดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” มีความเป็นสิริมงคลที่สำคัญยิ่งอีกรุ่นเพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯจาก พระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และกดพิมพ์พระเครื่อง “เนื้อดินผสมผง” (พิมพ์ปางลีลา) เป็นปฐมฤกษ์ อีกทั้งได้ทราบการพิมพ์พระเครื่องและพระพุทธรูปดังกล่าวล้วนจัดสร้างขึ้นที่ วัดสุทัศน์ฯ ดังบันทึกในหนังสือเล่มเดียวกันว่า “คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้สร้างโรงงานให้ผู้รับจ้างพิมพ์พระได้ทำงานอยู่ในบริเวณวัดสุทัศน์ เทพวราราม ด้วยประสงค์จะให้พระพุทธรูปดังกล่าวได้จัดทำอยู่ในปริมณฑลพิธี หรือในเขตพระอารามโดยตลอดและสะดวกต่อการควบคุมดูแล เพราะใช้เวลาสร้างพระเครื่อง 3 เดือนเศษ จึงแล้วเสร็จ และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกเป็นครั้งที่ 2” ดังนั้นวัตถุมงคล “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” จึงนับเป็นวัตถุมงคลมีคุณค่าที่ถึงพร้อมด้วย พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ และ พระมหากษัตราธิคุณ ส่วนรายพระนามและรายนามพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกขออนุญาตไม่เอ่ยถึง เพราะมีจำนวนมากครับ จึงเสนอเฉพาะในแง่มุมที่เกี่ยวเนื่อง “พระมหากษัตราธิคุณ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงถึงพร้อมด้วยทศพิธราชธรรมและทรงเป็น สมเด็จพระบรมธรรมิกราชผู้ยิ่งใหญ่ ทรงมีพระธรรมประจำพระทัยอันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป ผู้เขียนจึงนำเสนอเฉพาะในแง่มุมที่ยังไม่มีผู้ใดให้ความสำคัญหรือสนใจมาก่อนเพื่อให้ท่านผู้อ่าน “ความจริง...อ่านเดลินิวส์” ได้รู้ไว้ “จะได้ไม่เสียเปรียบในการสะสม
ราคาปัจจุบัน
1000
จำนวนผู้เข้าชม
2168 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
URL
-
เบอร์โทรศัพท์
0889625108
ID LINE
ton040524
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 146-2-43645-3




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี